Loading...

การขาดทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)และการคิดวิจารณญาณ (Critical thinking) ของเยาวชน

        “เราได้เห็นความสำคัญของปัญหาจากการใช้สื่ออย่างไม่เหมาะสมและขาดวิจารณญาณ ของเด็ก ๆ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมถึงผลกระทบเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่ “ครูไม่มีเครื่องมือสอนให้เด็ก รู้เท่าทันสื่อ”

        ความรวดเร็วของสื่อใหม่ (New Media) เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน เรียกได้ว่ากลุ่มคนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงได้ง่าย ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา  ข้อมูลจากสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม  โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน อายุตั้งแต่ 6-24 ปี

        การใช้สื่ออย่างไม่เหมาะสมและขาดวิจารณญาณ ด้วยการผลิตซ้ำหรือทำตามกระแสต่าง ๆ โดยขาด การยั้งคิด กลั่นกรอง ตระหนักถึงผลดีผลเสีย ก่อให้เกิดผลกระทบตามมามากมาย ทั้งผลกระทบเกี่ยวกับ สุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมถึงผลกระทบด้าน ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน  ดังนั้น ปัญหาดังกล่าว จึงไม่ควรถูกปล่อยทิ้งไว้ และ ควรเร่งหาวิธีแก้ไขหรือป้องกันโดยเร็วที่สุด สาเหตุของปัญหาที่นักศึกษาสนใจจะเข้าไป ดำเนินการด้วย คือ การแก้ปัญหาที่ “ครูไม่มีเครื่องมือสอนให้เด็กรู้เท่าทันสื่อ”

        นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์  ได้ค้นคว้าหาข้อมูล ทำแบบทดสอบพฤติกรรมการใช้สื่อของเด็กชั้นมัธยมต้น และ สัมภาษณ์คุณครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมต้น เกี่ยวกับปัญหาการขาดทักษะรู้เท่าทันสื่อ ด้านวิเคราะห์สื่อชนิด ต่าง ๆ ที่นำมาซึ่งผลกระทบอันตรายต่อเด็ก ๆ ทำให้กลุ่มของพวกเราตัดสินใจที่จะดำเนินการกับกลุ่มคุณครูผู้ที่ สอนในระดับชั้นม.ต้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหานี้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคมในวงกว้าง เพราะเราได้เห็นความสำคัญของปัญหาจากการใช้สื่ออย่างไม่เหมาะสมและขาดวิจารณญาณ ของเด็ก ๆ จนส่งผลกระทบเกี่ยวกับสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมถึงผลกระทบเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และสาเหตุสำคัญคือ “ครูไม่มีเครื่องมือสอนให้เด็ก รู้เท่าทันสื่อ”

        เราได้นำเครื่องมือ Learning Curve หรือเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ ที่ประกอบไปด้วย 1) ขั้นนำเข้าบทเรียนด้วยเกมหรือกิจกรรม (Intro) 2) ขั้นกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ (Stimulate) 3) ขั้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (New experience) 4) ขั้นถอดบทเรียนสรุปการเรียนรู้ (Conclusion) 5) ขั้นนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง (Apply) มาออกแบบ โดยเริ่มต้นด้วยการเล่าถึงปัญหาที่มาและความสำคัญ ต่อด้วยการทำกิจกรรม สื่อ 4 ช่อง ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและแสดงจุดยืนเกี่ยวกับสื่อต่างๆทั้งสื่อที่พบเห็นในปัจจุบันและสื่อที่อยากให้เป็น แล้วเข้าสู่ห้องเรียนจำลองที่จะให้คุณครูออกแบบห้องเรียน การรู้เท่าทันสื่อ ของตนเอง

        โดยผู้เข้าร่วมจะช่วยกันออกความคิดเห็นผ่านวงสนทนาในกลุ่ม (Discussion)  เมื่อจบกิจกรรมแล้วผู้เข้าร่วมทุกท่านจะมีภารกิจในการนำ ความรู้ เครื่องมือ และทักษะที่ได้จากกิจกรรมไปส่งต่อให้กับสังคมโดยการบอกเล่าผ่านการเขียนสะท้อนคิด (Reflection) ลงเว็บไซต์ insKru เพื่อรับเกียรติบัตรการเข้าร่วมงาน เป็นอันจบกิจกรรม โดยกิจกรรมดังกล่าวจะถูกจัดขึ้นใน รูปแบบ Online ผ่าน Platform Zoom

        นอกจากนี้เราได้จัดนิทรรศการเพื่อให้ผู้เข้าร่วม และสาธารณชนที่ผ่านไปมาได้เข้ามารับชม และร่วมกันตระหนักถึงปัญหานี้ พร้อมกับได้ความรู้ติดตัวออกไปใช้ในการเสพสื่อของตนเองด้วย โดยนิทรรศการของเราจะจัดในรูปแบบ Website Exhibition ที่ผู้เข้าร่วมสามารถโต้ตอบได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้อย่างลงลึกและซึมซับกับปัญหาการขาดทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ด้านการวิเคราะห์ สื่อ (Media literacy) 

        ผลลัพธ์ที่ได้เราสามารถช่วยคุณครูสร้างเครื่องมือให้เด็กนักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์สื่อได้จะเกิดประโยชน์

        1.     คุณครูมีกระบวนการสอนที่จะผนวกให้เข้ากับเนื้อหาในหลักสูตรการศึกษา

        2.     มีรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning เกิดขึ้นในระบบการศึกษา

        3.     มีห้องเรียนแห่งการวิพากษ์และพื้นที่แห่งการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีภาพ

        4.     เด็กนักเรียนมีมุมมองในการใช้สื่ออย่างมีวิจารณญาณเพิ่มขึ้น

        5.     เด็กนักเรียนสามารถสร้างพื้นที่การเรียนรู้ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        6.     เด็กนักเรียนจะมีเกราะป้องกันตนเองจากภัยอันตรายบนโลกออนไลน์

        การที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างพื้นที่ ได้ร่วมกันออกแบบห้องเรียนเท่าทันสื่อ และสร้างเครื่องมือให้กับคุณครู นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นจากกลุ่มเล็กๆที่จะเป็นแม่แบบ “ห้องเรียนรู้เท่าทันสื่อ” ให้กับหลายๆโรงเรียน เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อ ไว้ให้เป็นเกราะป้องกันกับเด็กๆ ต่อไป

ที่มา : โครงการนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Innovative Project for Change)  ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์

อ่านบทความต่อไป …..HEAL YOUR FEEL, CREATE YOUR SPACE, YOU ARE MY SAFE ZONE......