Loading...

You’re not alone

        นั่งเป็นวงกลมในระดับเสมอกัน สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับนักเรียน LGBTQ ผ่านการเล่นเกมส์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

        การบูลลี่ในโรงเรียนเป็นปัญหาที่เรื้อรังอยู่ภายในโรงเรียนมาอย่างยาวนาน มองผิวเผินเหมือนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นจนทำให้คนทั่วไปมองข้ามและปล่อยผ่าน แต่หากมองให้ลึกด้วยความใส่ใจจะไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แต่หากเกิดเป็นผลกระทบที่ส่งผลต่อจิตใจผู้ถูกกระทำจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าและก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมได้

        LGBTQ เป็นกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการบลูลี่ในโรงเรียน เนื่องจากสื่อบันเทิงสมัยก่อนมีการนำเสนอเรื่องราวที่ทำให้ LGBTQ ถูกมองว่าเป็นตัวตลกทำให้ส่งผลต่อมุมมองของผู้รับสารในอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ทั้งที่จริงๆแล้ว LGBTQ บางส่วนเพียง กล้าแสดงออก กล้าแสดงความสามารถ ไม่ใช่เป็นตัวตลกของสังคม

        ข้อมูลความเจ็บปวด (Pain point) ของกลุ่มเป้าหมายอันเป็นที่มาของปัญหาคือ LGBTQ ถูกมองว่าเป็นตัวตลก นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ได้หยิบปัญหาดังกล่าว มาออกแบบงานจัดแสดงในหลากหลายมิติ โดยยึดหลักการนำเสนอข้อมูลจากงานวิจัย แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ พร้อมทั้งเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาร่วมพูดคุย สะท้อนความคิดความรู้สึกที่แท้จริง นำไปสู่การสร้างความเข้าใจร่วมกันของสังคมที่มีต่อกลุ่ม LGBTQเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับกลุ่มนักเรียนที่ถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน สนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียม  สะท้อนให้สังคมได้ตระหนักถึงปัญหาภายในโรงเรียนที่ยังคงอยู่ โดยต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด ช่วยลดและยับยั้งปัญหาในจุดอื่น

        วิธีการแก้ปัญหาที่นำมาใช้ คือการเปิดพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และพื้นที่แสดงศักยภาพของกลุ่มนักเรียน ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยมีแขกรับเชิญพิเศษที่เป็น LGBTQ รวมถึงจัดกิจกรรม  อำนวยกระบวนการเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย (Facilitation of learning) เพื่อให้กลุ่มนักเรียนได้รู้สึกถึงความสนุกสนาน และความอบอุ่นที่ผู้เข้าร่วมมีให้ต่อกัน นอกจากกิจกรรมหลักยังมีกระดานให้กำลังใจ ซึ่งเป็นการเขียน Post it ให้กำลังใจ และระบายความในใจ เพื่อเป็นการ ทบทวนความรู้สึกสร้างความตระหนักรู้ในตนเอง (Check in) และเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ ยังมีการให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนได้มีส่วนร่วมในการสร้างนิทรรศการ โดยการเขียนข้อความลงบนแผ่น Backdrop เพื่อแสดงถึงความอิสระและความปลอดภัยภายในกิจกรรม

        จากการประเมินผลลัพธ์ผ่านภาพถ่ายและการสังเกตภายในกิจกรรม เห็นได้ชัดว่า กลุ่มนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีการแสดงออกที่ต่างจากก่อนเริ่มกิจกรรม ทุกคนร่วมพูดคุยกันอย่างเต็มที่ และแสดงความคิดเห็นของตนเองออกมา โดยไร้ซึ่งความกังวล รวมถึงเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน นอกจากการสังเกตและภาพถ่าย ยังมีการเก็บผลสะท้อนความคิดเห็นจากการเข้าร่วมกิจกรรม (Feedback) จากผู้เข้าร่วม ซึ่งผลที่ออกมา ตรงตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

        หากปัญหานี้ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุดและถูกวิธี นักเรียน LGBTQ สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้เป็นปกติโดยไม่ถูกมองว่าแปลกแยก สามารถทำให้เขารู้สึกว่ามีพื้นที่ปลอดภัยในสังคม และพร้อมที่จะแสดงศักยภาพได้เต็มที่100% 

ที่มา : โครงการนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Innovative Project for Change)  ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์

อ่านบทความต่อไป …..สร้างเสียง-สื่อสาร......