สร้างเสียง-สื่อสาร
ทักษะการอ่าน มีความจำ เป็นสำหรับต่อยอดการเรียนรู้ ของนักเรียนและเป็นทักษะพื้นฐานที่ควรเกิดขึ้น ตั้งเเต่ช่วงชั้นประถมศึกษาตอนต้น เพื่อที่นักเรียนจะสามารถนำ ทักษะนี้ ไปใช้ศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ทักษะการอ่าน เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนอย่างเป็นระบบ เเละจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการบ่มเพาะเเละเพิ่มพูน สถาบันการศึกษาจึงควรมีเครื่องมือที่จะช่วยให้นักเรียน สามารถเรียนรู้ทักษะการอ่านได้จากทั้งใน เเละนอกห้องเรียน
นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ได้สำรวจข้อมูลปฐมภูมิ ผ่านการสัมภาษณ์ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษา ตอนต้น และผู้อำนวยการโรงเรียน รวมจำนวนทั้งหมด 3 ท่าน และ จากการทำแบบสำรวจออนไลน์ผ่านทาง Google form ที่ส่งให้โดยตรงกับกลุ่มเป้าหมายคุณครูผู้สอนในระดับชั้น ประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 9 ท่าน พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่นักเรียนมีปัญหาการอ่านมาจากการที่ นักเรียนขาดช่วงในการเรียนรู้ ไม่ได้ทบทวนการอ่านหรือการเขียนเมื่ออยู่นอกช่วงเวลาเรียน รวมถึงผู้ปกครองที่มีความใกล้ชิดกับนักเรียนมากที่สุด ไม่มี เวลาว่าง หรือไม่มีทักษะความรู้เพียงพอที่จะทบทวน ช่วยฝึกฝนให้กับนักเรียน ทำให้ต้องมีการทบทวนอีกครั้งใน ห้องเรียน
ส่งผลทำให้เกิดความล่าช้าในการเรียนรู้ตามเนื้อหาหลักสูตรมากขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เห็นว่า ควรมีวิธีการที่สามารถทำให้นักเรียน สามารถเรียนรู้ทักษะการอ่านนอกเวลา เรียนได้เอง โดยไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาคุณครูหรือผู้ปกครองเป็นหลัก และควรเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและโดยอ้อม สามารถใช้งานได้ทุกฝ่าย
โครงการ ”สร้างเสียงสื่อสาร” ของเรามีเป้าหมายโดยตรงกับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เนื่องจากเป็นช่วงของการปู พื้นฐานเพื่อเรียนการอ่านและการเขียนเบื้องต้น มุ่งเน้นไปที่การสอนให้นักเรียนเกิดทักษะการอ่านโดยเฉพาะ อันจะ ส่งผลให้นักเรียนเข้าใจถึงการสะกดคำ และจะนำไปสู่การสร้างทักษะการเขียนในตอนท้าย โดยจะทำการส่งเสริม ทักษะการอ่านผ่านทางสื่อภาพเคลื่อนไหว เรียนรู้จากเสียงของตัวอักษร ก่อนนำไปประยุกต์ให้เกิดเป็นการรวมคำ ผ่านการ์ตูนแอนิเมชันผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ ยูทูป (YouTube) เป็นสื่อการเรียนการสอน ที่สามารถ นำไปใช้งานได้ทั้งกับ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น หรือแม้แต่ผู้ปกครองที่ต้องการจะส่งเสรืมทักษะการอ่านให้กับบุตรหลานของตนเอง
ที่มา : โครงการนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Innovative Project for Change) ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ่านบทความต่อไป …..IMPROVING SELF-CONFIDENT สร้างเสริมความมั่นใจ ให้กับหนูน้อยวัยประถม......