Loading...

Improving Self-Confident สร้างเสริมความมั่นใจ ให้กับหนูน้อยวัยประถม

        ห้องเรียนอาจไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยที่จะทำให้พวกเขาได้กล้าคิด กล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ และยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เด็กขาดความมั่นใจ ส่งผลกระทบให้กลายเป็นพฤติกรรมติดตัวไปถึงอนาคต ไม่กล้าออกจาก Safe zone ซึ่งอาจพลาดโอกาสและประสบการณ์ หลายๆอย่างที่ควรได้รับ

        ปัญหาเรื่องความไม่มั่นใจในตนเองของเด็กวัยประถมศึกษาตอนปลายนั้นมีความสำคัญและควรค่าแก่การ หาแนวทางแก้ไขอย่างมาก พฤติกรรมภายในชั้นเรียนนั้นมีส่วนสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในตนเอง และอาจติดตัวเป็นนิสัยได้ การที่เราเคยถูกทำโทษ ถูกตำหนิ หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ อาจส่งผลและสร้างเราให้กลายเป็นคนไม่มั่นใจในตนเองได้ และเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้นมักจะเกิดขึ้นอย่างฝังใจ

        นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ได้สืบค้นและหา ข้อมูลโดยการลงพื้นที่ สังเกตการณ์ชั้นเรียนจริง และสัมภาษณ์ครูและนักเรียน พบว่าปัญหาความไม่มั่นใจในตนเองของเด็กมีจริง สังเกตจาก ที่เด็กนักเรียนไม่กล้าตอบเมื่อครูถาม ไม่กล้าถามเมื่อตนเองสงสัย เพราะกลัวผิด กลัวการตำหนิ

        ‘การที่ห้องเรียนไม่ได้เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้แก่เด็ก นักเรียน’ มีสาเหตุอันเนื่องจากหลักสูตรการเรียนการสอน หรือการออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ภายใน ห้องเรียน ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กได้กล้าคิด กล้าแสดงออกมากนัก โดยส่วนมากมักจะเน้นรูปแบบการเรียน แบบผู้เรียนไม่มีส่วนร่วม เป็นฝ่ายตั้งรับ (passive learning) สังเกตจากการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเน้นจด จำ ไม่ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย ถกเถียงประเด็นปัญหา กล้าผิด กล้าถูก เปิดเสรีทางความคิดอย่างเต็มที่ ซึ่งจากการที่เราได้ลงพื้นที่จริงและได้สังเกตพฤติกรรมของเด็กนักเรียน จึงพบว่าพฤติกรรมภายนอกชั้นเรียน นักเรียนมีความเป็นตัวของตัวเอง กล้าพูด กล้าถาม กล้าแสดงออก แต่เมื่อกลับ เข้าสู่ชั้นเรียน พฤติกรรมที่มั่นใจและกล้าแสดงออกเหล่านั้นกลับหายไป สิ่งนี้แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าห้องเรียนไม่ได้เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็ก จึงทำให้พวกเขาไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าคิด ไม่กล้าถาม

        สาเหตุซึ่งเป็นรากของปัญหา (Roots cause)   คือ ครูมีจำนวนจำกัด ภาระงานมากล้น จึงไม่สามารถคิดออกแบบการ เรียนรู้ในรายวิชานั้นได้อย่างเต็มที่ รวมถึงการสอนในรายวิชาที่ไม่ถนัดส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการส่งมอบ ประสบการณ์การเรียนรู้นั้นลดลงไปอีกด้วย และความไม่พร้อมของสื่อการเรียนการสอนก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ การเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพและอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียน เพื่อให้ นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นและมั่นใจได้

        เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่มั่นใจ และสร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียน เราจึงได้จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่เด็กๆ โดยเริ่มจาก การทลายกำแพงระหว่างเด็ก ครู และกระบวนการ จากนั้น เป็นการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ฝึกการคิดและความกล้าแสดงออก เพื่อดึงความมั่นใจให้กับน้องๆผ่านเกมต่างๆ สร้างความมั่นใจในตนเอง (Seft-esteem) ความเก่งในแบบของตนเอง โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple intelligence) ขณะเปิดโอกาสให้ครูได้ออกแบบและทำกิจกรรมห้องเรียนจำลองตามการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ตามหลักเส้นโค้งการเรียนรู้ (Learning Curve) บูรณาการกับห้องเรียนของตนเอง ที่ประกอบไปด้วย 1) ขั้นนำเข้าบทเรียนด้วยเกมหรือกิจกรรม (Intro) 2) ขั้นกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ (Stimulate) 3) ขั้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (New experience) 4) ขั้นถอดบทเรียนสรุปการเรียนรู้ (Conclusion) 5) ขั้นนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง (Apply)

        ผลที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมเด็กมีความมั่นใจ รับรู้คุณค่าภายในตนเอง กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ทำให้เขาเติบโตไปเป็นคนที่มั่นใจพร้อมเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอ ผู้ที่จะได้รับผลกระทบทางบวก อีกก็คือครู จากปัญหาที่ครูเจอก่อนหน้านี้ ที่เด็กไม่มีการโต้ตอบ ไม่แสดงความคิดเห็น แต่เมื่อแก้ไขปัญหาเรื่อง ความไม่มั่นใจของเด็ก การเรียนการสอนในห้องเรียนก็จะง่ายขึ้นเมื่อเด็ก ๆ กล้าพูด ครูจะรู้จุดเด่นของเด็กแต่ละคน และจะส่งเสริมให้การเรียนรู้ให้กับเด็กได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ในส่วนต่อมาคือผู้ปกครอง โดยการที่ห้องเรียนสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กได้นั้นก็จะ ทำให้ความกังวลและความเป็นห่วงของผู้ปกครองที่มีลดลงไปได้พอสมควร เพราะห้องเรียนและสภาพแวดล้อมที่ลูกของพวก เขาได้เรียนอยู่นั้นมีความคล้ายกับเวลาที่พวกเขาอยู่บ้าน ส่งผลให้เด็กๆเกิดความสบายใจและกล้าทำในสิ่งที่ ตนเองอยากทำและจะส่งผลต่อพฤติกรรมทางบวกที่พวกเค้าจะแสดงออกมาเมื่อเขาเติบโดขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ในสังคม ในอนาคต 

        เมื่อสิ่งแวดล้อมมีการกระตุ้นให้มีความกล้าแสดงออก เพื่อน ๆ ช่วยกันกระตุ้นกันให้เกิดการมีส่วนร่วมในห้องเรียน ผลกระทบสำคัญที่จะเกิดได้อีกนั่นก็คือ บรรยากาศ การเรียนรู้ที่สนุกสนาน ที่เพื่อนช่วยเพื่อน ช่วยกันเรียน และช่วยกันผลักดันศักยภาพของกันและกัน เกิดการแข่งขัน บ้างเพื่อกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศที่เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ และช่วยให้ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ การ กล้าแสดงออกในห้องเรียนได้อย่างมากขึ้นนั่นเอง

ที่มา : โครงการนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Innovative Project for Change)  ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์

อ่านบทความต่อไป …..การพัฒนาการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้สำหรับผู้พิการทางการมองเห็นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์......