การพัฒนาการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้สำหรับผู้พิการทางการมองเห็นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตาที่มองไม่เห็น... กับความเท่าเทียมการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ในธรรมศาสตร์....
เปิดมุมมองอีกด้านให้คนทั่วไปให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของนักศึกษาพิการผ่านความร่วมมือในการสร้างและออกแบบ นวัตกรรมให้กับนักศึกษาผู้พิการทางการมองเห็น ช่วยให้เขาสามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้มากขึ้น ทำให้การเรียนรู้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดรับนักศึกษาพิการเข้า มาศึกษาในระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน แต่ทำไม? นักศึกษาพิการใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังต้องพบเจอกับปัญหาด้านการเรียนรู้ที่มีข้อจำกัดด้านสื่อการเรียนรู้ที่ไม่เพียงพอ
หมุน Volume ให้ดัง !!! นักศึกษาผู้พิการทางการเห็น เล่าว่า ข้อจำกัดด้านสายตาทำให้ไม่สามารถสื่อสาร เรียนรู้และใช้บริการส่วนกลางของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากมีความต้องการ จะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่จากศูนย์ดูแลนักศึกษาพิการ ( Disabled Student Services Thammasat University) หรือ DSS TU ที่มีจำนวนบุคลากรน้อย ทำให้ส่งผลกระทบให้การเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ ต่าง ๆ อีกทั้งสื่อการเรียนรู้ เช่น หนังสืออักษรเบรลล์ หนังสือเสียง (Audio Book) มีจำนวนจำกัดและไม่หลากหลาย ทำให้ไม่สามารถใช้ประกอบการศึกษาในการเรียน ในมหาวิทยาลัยได้เพียงพอ
ความเข้าใจ...ไม่ใช่ความสงสาร นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ เห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นของนักศึกษาพิการทางการมองเห็น จึงคิดโครงการหรือนวัตกรรมเพื่อช่วย แก้ปัญหาด้านสื่อการเรียนรู้ โดยสร้างนวัตกรรมให้ผู้พิการทางการมองเห็นมีแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เกิดความความเท่าเทียมในการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ตามสิทธิ์ที่ผู้พิการพึงจะได้รับ ซึ่งเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษา เพื่อให้ผู้พิการ ทางการมองเห็นเข้าถึงแหล่งความรู้เทียบเท่ากับคนทั่วไปให้ได้มากที่สุด ส่วนในด้านการบริการจะเป็นการแบ่ง เบาภาระเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ (DSS TU) ได้อีกด้วย
ผลลัพท์ที่ต้องรอ ... จากปัญหาการด้านบุคลากร เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ (DSS TU) ที่มีเพียงแค่ 4 คน ซึ่งไม่ได้ให้บริการแค่ผู้พิการทางการมองเห็นอย่างเดียว แต่ต้องดูแลนักศึกษาผู้พิการทุกประเภททั้งมหาวิทยาลัยมากกว่า 70 คน ส่งผลต่อการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยอย่างมาก เราเข้าอบรมการสร้างสื่อสำหรับนักศึกษาพิการกับเจ้าหน้าที่ DSS TU ได้ทำความรู้จักเพื่อนๆ พี่ๆ ร่วมกันออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เข้าใจคนพิการทางการเห็นมากขึ้น พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายกับนักศึกษาจิตอาสา TU Buddy ในการช่วยเหลือและสนับสนุนเจ้าหน้าที่ DSS TU อีกด้วย
อุปสรรคสำคัญที่พบคือเราไม่สามารถสร้างสื่อการเรียนรู้เป็นชิ้นงานได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดทางกฎหมาย ไม่ว่าหนังสือ หรือแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น ดังนั้นหากต้องการสร้างสื่อการเรียนรู้เราสามารถทำภายใต้องค์กรแนบท้ายประกาศของกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น ซึ่ง DSS TU เป็นองค์กรที่อยู่ในนั้นด้วย
“ในอนาคต หาก DSS TU มอบหมาย เครือข่ายที่เราสร้างขึ้นมาพร้อมที่จะสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างเต็มที่เราแค่อยากเห็นความเท่าเทียมในการใช้สื่อการเรียนรู้ แบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ ต้องการให้คนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความพิการมากขึ้น คนส่วนใหญ่มองว่าคนพิการคือคนน่าสงสาร แต่ไม่เข้าใจ เราอยากให้ทุกคนเข้าใจมากกว่าสงสาร”
ที่มา : โครงการนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Innovative Project for Change) ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ่านบทความต่อไป …..Coming soon......