Loading...

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา

        โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ภายใต้สังกัดคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดำเนินงานพัฒนาด้านการศึกษาร่วมกับภาคีเครือข่ายทางด้านการศึกษาและการพัฒนา มีจุดมุ่งหมายในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนด้วยแนวคิดที่ว่าทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนได้

        โรงเรียนในโครงการประกอบไปด้วยโรงเรียนวัดนิเวศวุฒาราม จ.นครสวรรค์ และโรงเรียนบ้านบางหมาก จ.ตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องในกระบวนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้วยกระบวนการเสริมพลัง พัฒนาศักยภาพผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ และสร้างการเชื่อมโยงองค์ประกอบที่หลากหลายในการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนผ่านการดำเนินงาน 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาองค์ความรู้และหลักสูตร

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาศักยภาพบุคลากร ผู้ปกครอง และชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาสื่อการสอนและทรัพยากรการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สื่อสารสังคม

        เป้าหมายของโครงการ
        1. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เกิดสมรรถนะ ความรู้ ความสามารถในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลในระดับสถานศึกษาให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายของผู้เรียนและบริบทแวดล้อม
        2.พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงระบบนิเวศการเรียนรู้ เสริมสร้างความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ และเพื่อพัฒนานิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนภายใต้บริบทของชุมชน

        วัตถุประสงค์ของโครงการ
        1. เพื่อศึกษาแนวทางที่มีประสิทธิผลในการพัฒนาศักยภาพครูและผู้บริหารในการขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา
        2. เพื่อศึกษากระบวนการที่มีประสิทธิผลในการพัฒนาการจัดการศึกษาและพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่มีบริบทแตกต่างกัน

        จากการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมา คณะทำงานพบว่าก้าวต่อไปของการพัฒนาการศึกษาภายใต้เงื่อนไข ประเด็นความท้าทาย และปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกันของโรงเรียน การพัฒนา “นิเวศการเรียนรู้” ที่คำนึงถึงบริบทพื้นที่และมิติความสัมพันธ์ระหว่างครู นักเรียน โรงเรียน และชุมชน จะเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การสร้างกระบวนการเรียนที่มีความหมายต่อผู้เรียน

ช่องทางการติดต่อ

E-mail: manlika.in@lsed.tu.ac.th

Facebook: โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา: ธ.กรุงเทพและคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ.