Loading...

Old Yeah! ผู้สูงอายุกับการเข้าใจกันผ่านศิลปะ

        บทความวิชาการ ศิลปะเพื่อการบำบัดในผู้สูงอายุ (Art Therapy for Older Persons) บอกไว้ว่า “ศิลปะเป็นสิ่งจรรโลงใจ ลดความเครียด และช่วยให้เข้าใจตนเอง” เมื่อผู้สูงอายุได้ลงมือทำงานศิลปะ กระบวนการ ของกิจกรรมศิลปะจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีอิสระ ผ่อนคลาย มองเห็นคุณค่าในตนเอง เรียนรู้การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่แยกตัวหรือใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว และจะเข้า ร่วมกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น”

        สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาลัยมหิดล ชี้ให้เห็นสถิติแนวโน้มปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในช่วงการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ขาดปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกครอบครัว จึง เห็นได้ว่า ผู้สูงอายุจะรู้สึกมีความสุข และมีคุณค่า ถ้าผู้สูงอายุมีทักษะทางสังคมในระดับสูง เช่น การมีปฏิสัมพันธ์อันดีร่วมกับ ผู้อื่น เพื่อนบ้านวัยเดียวกันและต่างวัย ได้เป็นผู้ถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณี ขัดเกลาทางสังคมให้แก่บุคคลรุ่นหลัง ตลอดจนถ่ายทอดประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิต การมีปฏิสัมพันธ์ในสังคมจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถเผชิญต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านสุขภาพ สถานภาพ และความมั่นคงในชีวิตได้มากขึ้น (นนทรี วงษ์วิจารณ์ และ สุปาณี สนธิรัตน์, 2556)  สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาลัยมหิดล ชี้ให้เห็นสถิติแนวโน้มปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในช่วงการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ขาดปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกครอบครัว จึง เห็นได้ว่า ผู้สูงอายุจะรู้สึกมีความสุข และมีคุณค่า ถ้าผู้สูงอายุมีทักษะทางสังคมในระดับสูง เช่น การมีปฏิสัมพันธ์อันดีร่วมกับ ผู้อื่น เพื่อนบ้านวัยเดียวกันและต่างวัย ได้เป็นผู้ถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณี ขัดเกลาทางสังคมให้แก่บุคคลรุ่นหลัง ตลอดจนถ่ายทอดประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิต การมีปฏิสัมพันธ์ในสังคมจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถเผชิญต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านสุขภาพ สถานภาพ และความมั่นคงในชีวิตได้มากขึ้น (นนทรี วงษ์วิจารณ์ และ สุปาณี สนธิรัตน์, 2556) 

        นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ จึงได้จัดทำโครงการศึกษาผู้สูงอายุในหมู่บ้านพรพิมาน จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีจำนวนประมาณ 300 คน จากการสำรวจพบว่าหมู่บ้านดังกล่าวเป็นหมู่บ้านค่อนข้างใหญ่ หลายคนไม่เคยพูดคุยกัน หรือเพียงแค่รู้จักแต่ไม่สนิทสนม บวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยง ต้องอาศัยอยู่แต่ในบ้าน

        ขณะเดียวกันเห็นได้ว่าผู้สูงอายุในหมู่บ้านมีการแบ่งเป็นสองประเภท คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นผู้นำชุมชน ซึ่งมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเป็นประจำ และกลุ่มผู้สูงอายุทั่วไป ที่ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ภายในบ้าน หรือออกมาทำกิจกรรมภายนอกร่วมกับกลุ่ม เพื่อนเพียงไม่กี่คน โดยไม่กล้าที่จะเข้าไปทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุในกลุ่มผู้นำชุมชน

เราได้จัดกิจกรรม : ผู้สูงอายุกับการเข้าใจกันผ่านศิลปะ โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 2 วัน ดังนี้

        กิจกรรมวันที่ 1

- เพลงกับการเคลื่อนไหว

        เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุได้เคลื่อนไหว ผ่อนคลาย  และทำความคุ้นเคยกันก่อนเข้าสู่กิจกรรมหลัก โดยจะเปิดเพลงและให้ผู้เข้าร่วมเดินอย่างอิสระในพื้นที่ที่กำหนดไว้ เมื่อเพลงหยุด ให้ผู้เข้าร่วมจับคู่กับคนใกล้ตัว แนะนำตัวเอง และพูดคุยกันตามคำถามที่เราตั้งเอาไว้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น

- Recall ความทรงจำ

        เราทำการสุ่มกลุ่มตามป้ายชื่อและให้ผู้สูงอายุนั่งแยกกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีกระบวนกรนำกิจกรรม ทุกคนวาดภาพบนกระดาษโดยใช้สีช็อค ในหัวข้อ “จุดเปลี่ยนชีวิต” เมื่อวาดภาพเสร็จกระบวนกรจะชวนทุกคนพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในภาพวาดของตน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ recall ถึงความทรงจำในชีวิตที่ผ่านมา และได้แบ่งปันเรื่องราวเหล่านั้นร่วมกัน ได้ทำความรู้จัก และทำความเข้าใจในตัวตนของตนเองและผู้อื่นมากขึ้น

- ประติมากรรมชีวิตบนกระเป๋าผ้า

        ให้ผู้เข้าร่วมสร้างประติมากรรมชีวิตในหัวข้อ “ความเป็นตัวเอง” บนกระเป๋าผ้า  ระหว่างกิจกรรมจะมีกระบวนกรประจำกลุ่มคอยอำนวยความสะดวก และชวนทุกคนพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ จิตนาการ ได้ทบทวนถึงบทบาทของตนเอง ทั้งที่เป็นอยู่และที่อยากเป็น ได้ใช้เวลาร่วมกันและแลกเปลี่ยนมุมมองในการสร้างงานศิลปะ นอกจากนั้นยังสร้างความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง และได้ผลงานชิ้นนี้กลับไปเป็นของที่ระลึกอีกด้วย

กิจกรรมวันที่ 2

- วงล้อสัมพันธ์

        กิจกรรมแรกเป็นกิจกรรมกระตุ้นและสร้างความคุ้นเคยก่อนเข้ากิจกรรมหลัก โดยเราจะให้ผู้เข้าร่วมนั่งเป็นวงกลม มีวงนอกและวงในหันหน้าเข้าหากัน จากนั้นเราจะให้ทุกคนพูดคุยกันตามหัวข้อที่กำหนด และเวียนที่นั่งกันไปเรื่อย ๆ จนครบคำถาม มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ทำความรู้จักกันมากขึ้นจากวันแรก และมีบทสนทนาร่วมกันมากขึ้น สำหรับคนที่ไม่กล้าพูดคุย และไม่เคยทำความรู้จักกันมาก่อน

- วาดรูปรวมชุมชนของเรา

        ส่งท้ายกิจกรรมทั้งหมดด้วยการให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้วาดภาพร่วมกันบนผืนผ้าใบใหญ่ ในหัวข้อ “ชุมชนของเรา” เพื่อให้ทุกคนได้บอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์ และมุมมองต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อให้ผู้ให้ผู้เข้าร่วมเกิดการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการพูดคุยบอกเล่า และทำงานร่วมกัน

จุดประสงค์ในการจัดกิจกรรม

- ทำให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ได้ทำความรู้จักและเข้าใจผู้อื่นอย่างลึกซึ้งมากขึ้น

- ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมคลายเครียด และสร้างความสุข ความเข้าใจให้แก่ตนเองผ่านศิลปะ

        ผลลัพธ์ที่ออกมาปรากฎเห็นได้ชัดเจนมาก ผู้สูงอายุได้รู้จักกันมากขึ้น ผ่านการแลกเปลี่ยนพูดคุยในกิจกรรม ซึ่งจากการสอบถามพบว่า ก่อนทำกิจกรรมผู้สูงอายุเคยพบเจอกันแค่ในชุมชนเพียงเท่านั้น บางคนไม่เคยรู้จักกันมาก่อน  แต่กิจกรรมสามารถทำให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ได้รู้จักและคุ้นเคยกันมากขึ้น ผู้สูงอายุบางคนไม่ได้วาดรูประบายสีมานานมาก ซึ่งกิจกรรมได้ทำให้ผู้สูงอายุได้กลับมาใช้ความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นสมอง อันเป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถป้องกันอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้

ที่มา : โครงการนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Innovative Project for Change)  ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ่านบทความต่อไป …..การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (COLLABORATIVE SPACE)......