Loading...

การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง(Transformative learning) : คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ.

        คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชื่อว่าแก่นแท้ของการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในระดับการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาได้เท่านั้น แต่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของผู้เรียนที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและวิถีปฏิบัติของทั้งผู้เรียนและผู้สอนที่เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองอย่างแท้จริง เริ่มจากเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ความคิดความเชื่อที่ให้คุณค่าต่อสิ่งที่เรียนรู้จากมิติคุณภาพด้านใน นำไปสู่การพัฒนาทักษะและสร้างความรู้จากประสบการณ์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงท่าทีและการปฏิบัติตัวต่อสังคมและโลกที่ตามมา

        การจะสร้างการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้นั้น วิธีสร้างการเรียนรู้ที่ปรากฎจึงแตกต่างจากวิธีการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ในระบบการศึกษาไทย บทเรียนของคณะฯ และโรงเรียนสาธิตฯ พบวิถีปฏิบัติที่เชื้อเชิญผู้เรียนให้เชื่อมโยงและสื่อสารกับโลกภายในของตนเอง สำรวจที่มาของความคิดใคร่ครวญคุณค่าและแรงบันดาสใจ ตลอดจนท้าทายกยภาพในตัวเองเพื่อการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงตนและสังคม ได้แก่ การสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection) การประมวลการเรียนรู้ (Learning portfolio) และการประเมินที่หลากหลายเพื่อพัฒนาผู้เรียน

ดังตัวอย่างการปฏิบัติ ดังนี้

คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์

        การเรียนการสอนในคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการเรียนรู้ หรือหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการเรียนรู้และนวัตกรรมการศึกษา มีลักษณะที่สำคัญคือ เป็นการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน หรือเรียนรู้จากประสบการณ์โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ การสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection) การประมวลการเรียนรู้ (Learning portfolio) และการประเมินที่หลากหลายเพื่อพัฒนาผู้เรียน

การสะท้อนการเรียนรู้ (Learning portfolio)

        การสะท้อนการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของทั้งสองหลักสูตร เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารกับโลกภายในของตนเอง และสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน (หรือนอกห้องเรียน) ด้วยตนเองได้ ดังนั้น จึงมีการปูพื้นฐานทักษะการสะท้อนคิดตั้งแต่ช่วงแรกที่นักศึกษาเข้ามาศึกษาและยังได้ฝึกฝนต่อไปตลอดหลักสูตรอีกด้วย ในระดับปริญญาตรีนักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนทักษะการสะท้อนคิดในวิชา บ่มเพาะทักษะการเรียนรู้(Fostering Learning Skills) ซึ่งเป็นวิชาบังคับวิชาแรกที่จะได้เรียน และในระดับปริญญาโท นักศึกษาจะได้ฝึกทักษะนี้ในวิชา กระบวนการและการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Process and Management of Transformation) ซึ่งเป็นวิชาที่จะได้เรียนในภาคเรียนแรกเช่นเดียวกัน นักศึกษาจะต้องฝึกฝนทักษะการใคร่ครวญย้อนมองประสบการณ์ วิธีคิด และความรู้สึกภายในของตนเอง ฝึกการเขียนสะท้อนการเรียนรู้เมื่อจบคาบเรียนหรือหลังจากจบกิจกรรมตามที่อาจารย์มอบหมาย นอกจากนี้ นักศึกษาจะมีโอกาสได้สะท้อนคิดระหว่างที่มีการเรียนการสอนผ่านการแสดงความคิดเห็นภายในห้องเรียนอยู่เสมอ

        แนวทางการสะท้อนการเรียนรู้ที่นักศึกษาจะได้ฝึกฝนตลอดหลักสูตรมีองค์ประกอบคือ 3 R's ดังนี้ Review, Reflection และ Reflexivity

        1) Review คือ การทบทวนเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นขณะเรียนรู้เช่น เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เมื่อไร้ อย่างไร เป็นต้น เป็นการบรรยายปรากฎการณ์หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน (หรือนอกห้องเรียน โดยส่วนใหญ่นักศึกษาจะสามารถทำขั้นนี้ได้ แต่ก็จะถูกผลักดันให้สะท้อนคิดในขั้นถัดไป

        2) Reflection คือการสะท้อนความรู้สึกหรือการเรียนรู้ที่มีต่อเหตุการณ์หรือประสบการณ์นั้นๆ เช่น รู้สึกอย่างไรได้เรียนรู้อะไรบ้างจากประสบการณ์นั้นเป็นต้นโดยทั่วไปการสะท้อนการเรียนรู้ต้องการให้นักศึกษาสะท้อนคิดมาถึงขั้นนี้เป็นอย่างต่ำ แต่หากสามารถสะท้อนคิดไปในขั้นถัดไป ก็จะยิ่งส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวนักศึกษาเองมากขึ้น

        3) Reflexivity คือ การรู้ว่าที่ตนเองคิดเช่นนั้น หรือรู้สึกเช่นนั้น เป็นเพราะกำลังยึดถือความคิดความเชื่ออะไรอยู่เมื่อตระหนักรู้ข้อนี้แล้วนักศึกษากัสามารถที่จะเท่าทันความคิดของตนเอง หรือละทิ้งความเชื่อเดิม เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองได้

        อย่างไรก็ตาม แต่ละรายวิชาอาจใช้ลำดับขั้นในการสะท้อนการเรียนรู้ที่แตกต่างกันหรือใช้ทั้งหมดแต่ให้น้ำหนักแต่ละขั้นแตกต่างกันไปตามธรรมชาติของรายวิชา

การประมวลการเรียนรู้

        เมื่อนักศึกษามีการสะท้อนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ หลักสูตรจึงต่อยอดการเก็บสะสมความรู้และประสบการณ์ของนักศึกษาด้วยวิชาประมวลการเรียนรู้ (Leaming portfolio) ซึ่งจะเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรปริญญาตรีที่นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนทุกภาคเรียนในแต่ละชั้นปีจะมีเป้าหมายการเรียนร้ที่ต่างกัน ได้แก่

        ชั้นปีที่ 1 เน้นฝึกการสะท้อนคิด การทบทวนความรู้ และการทบทวนความสนใจ

        ชั้นปีที่ 2 เน้นสะท้อนการเรียนรู้ในการทำโครงการนวัตกรรมสังคม เช่น องค์ความรู้ในการทำงานชุมชน ทักษะที่ใช้ในการทำงานให้สำเร็จลล่วง ทักษะการสื่อสาร "ฯลา

        ชั้นปีที่ 3 เน้นประมวลประสบการณ์และเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกสถานที่ฝึกงานรวมถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์การฝึกงาน

        ชั้นปีที่ 4 เน้นการนำเสอทักษะต่างๆ ที่ได้สะสมมา เพื่อสมัครงาน หรือสร้างอาชีพตามประสบการณ์และความสนใจ

       

การประเมินที่หลากหลายเพื่อพัฒนาผู้เรียน

        เมื่อทีมอาจารย์ผู้สอนร่วมกันออกแบบเนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้วก็จะร่วมกันออกแบบการประเมินผล โดยการประเมินผลที่ใช้จะเป็นการผสมผสานระหว่างการประเมินระหว่างเรียน (Formative assessment) เพื่อสะท้อนสิ่งที่นักศึกษาทำได้ดีหรือสิ่งที่ควรปรับปรุง เช่น การเขียนสะท้อนการเรียนรู้ การรายงานความก้าวหน้าของโครงงานการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับชิ้นงานโดยไม่ได้ให้คะแนน เป็นต้น และการประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้ (Summative assessment) เพื่อตัดสินว่าผู้เรียนได้บรรลุจุดประสงค์ที่ได้ตั้งไว้หรือไม่เช่นการเขียนบทความวิขาการ การส่งรายงานโครงการเป็นต้น ทั้งนี้รายวิชาส่วนใหญ่ในคณะจะไม่ใช้การสอบในลักษณะจดจำความรู้ในการประเมิน เนื่องจากการวัดประเงินด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัดในการสะท้อนความสามารถของผู้เรียนตามความเป็นจริง

        นอกจากนี้ในบางรายวิชายังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกวิธีการประเมินด้วยตนเอง เช่น นักศึกษาสามารถเลือกว่าจะแสดงความเข้าใจด้วยการนำเสนอ การเขียน หรือการตัดต่อสื่อวีดิทัศน์ โดยจะมีการตกลงวิธีการประเมินร่วมกันในช่วงเริ่มต้นของภาคการศึกษา เป็นต้น