Loading...

Be Inspired เติมแรงบันดาลใจให้เต็มถัง

ทำไมเด็กไทยค้นหาตัวเองไม่เจอ? 

อะไรที่คอยฉุดรั้งศักยภาพของเยาวชน?

        ทรัพยากรมนุษย์เป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ วิธีการที่จะช่วยสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพนั้นล้วนมากจากระบบการศึกษาที่ดี และมีคุณภาพ ดังนั้นเราควรให้ความสําคัญกับเด็กที่เข้ามาอยู่ในระบบการศึกษา 

        สำหรับประเทศไทยพบว่ายังมีสิ่งที่คอยฉุดรั้งการศึกษาของเด็กไทยอยู่หลายปัจจัยทั้ง ครอบครัว ค่านิยม สังคม ทำให้เด็กไทยส่วนใหญ่หาตัวเองไม่เจอ แม้ว่าโรงเรียนต่างๆจะมีรูปแบบวิชาแนะแนว แต่วิชาดังกล่าวมีเพียงแค่สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงเท่านั้น และเชื่อว่าบางโรงเรียนอาจไม่ให้ความสำคัญกับวิชาแนะแนว ปล่อยให้เป็นเพียงคาบฟรี จึงทำให้วิชาแนะแนวไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะมาช่วยส่งเสริมให้เด็กหลุดออกจากวังวนของการหาตัวเองไม่พบ

        นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ได้หยิบยกประเด็นนี้มาพูดคุยกันและตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อมองรอบๆตัวบางคนยังไม่รู้เลยว่า ตัวเองอยากเรียนต่อในสาขาไหนของคณะ รวมถึงยังมีเพื่อนที่ ซิ่วมาจากคณะอื่นอีกด้วย  จึงได้ระดมความคิดว่าจะทําอย่างไรให้เด็กมัธยมสามารถที่จะค้นหาตัวเองได้ เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาไปกับสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบและนําเวลาเหล่านี้มาพัฒนาศักยภาพที่ใช่กับตัวเองจริงๆ

        จากการสำรวจข้อมูลพบว่ามีเด็ก 100% ที่ยังค้นพบตัวเองไม่เจอ และสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ไม่มีเวลาออกไปหาประสบการณ์ใหม่ ๆ เพราะภาระงานและการบ้านเยอะ การศึกษาที่ไม่เอื้อต่อการค้นหาตัวเองของนักเรียน ตลอดจนปัจจัยภายนอกเช่น การมีแฟน ครอบครัว ค่านิยม

        ‘การค้นหาตัวเองไม่เจอ’ แบ่งออกเป็น 4 มิติ

        มิติที่1 ด้านตนเอง เกิดจากการที่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าตนเองชอบอะไร หรือถนัดด้านไหน ทําให้ไม่มีแรงจูงใจจึงเกิดการเรียนตามเพื่อน ดังนั้นประเด็นนี้จึงเป็นประเด็นที่กลุ่มผู้จัดทําลงความเห็นว่าน่าสนใจและสามารถที่จะเกิดประโยชน์มากทั้ง ต่อ ตนเองและเด็กมัธยมในรุ่นต่อ ๆ ไป

        มิติที่ 2 ด้านสังคม ปัจจุบันเด็กต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคม จึงทําให้เลือกเรียนตามที่ค่านิยมของสังคมไทยวางกรอบไว้

        มิติที่ 3 ด้านการศึกษา ระบบการศึกษาไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ทั้งหลักสูตร และรูปแบบการเรียนการสอนที่ซ้ำๆ เดิมๆ ไม่มีการพัฒนาตามยุคสมัย เน้นสั่งการบ้านให้เยอะเข้าไว้ นักเรียนไทยจึงไม่มีเวลาค้นหาตัวเอง

        มิติที่ 4 ด้านครอบครัว หลายครอบครัวไม่ได้ให้ความสำคัญกับการค้นหาตัวเองของลูก หรือไม่มีความสามารถมากพอที่จะสนับสนุนหรือให้คำปรึกษา จึงโยนภาระ ไปให้กับทางโรงเรียน ซึ่งทางโรงเรียนก็ไม่ได้มีระบบการสอนที่มีประสิทธิภาพมากพอ

         นอกจากนี้ คุณครูเล่าว่า นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่แสดงความสามารถหรือความถนัดของตนเองออกมา แม้ว่าวิชาแนะแนวมีความสำคัญแต่ปัจจุบันกระบวนการสอนวิชาแนะแนวไม่สอดคล้องกับยุคสมัย อาจกล่าวได้ว่าส่วนหนึ่งของการที่เด็กค้นหาตัวเองไม่เจอมาจากการที่กระบวนการสอนวิชาแนะแนวในปัจจุบันยังไม่มีคุณภาพมากพอ

        ขณะเดียวกันหนังสือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยสร้าง แรงบันดาลใจในการจุดประกายให้เกิดการค้นหาตัวเองเจอ ได้ค้นพบในสิ่งที่ตนเองสนใจและสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคตข้างหน้า และทำให้นักเรียนกล้าเปิดใจมากขึ้น เป็นการส่งเสริมคุณค่าในสิ่งที่นักเรียนกำลังค้นหา ส่งผลต่อสังคมที่ช่วยสร้าง ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพได้

        สำหรับโครงการนี้เราได้จัดกิจกรรมร่วมกับคุณครูแนะแนว โดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือ ”BE INSPIRED” จากนั้นได้เปิดโอกาสให้คุณครูสะท้อนความคิดออกแบบการสอนโดยใช้หนังสือของเราเป็นตัวช่วยให้นักเรียนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสามารถที่จะค้นหาตัวเองได้

         ผลที่เกิดขึ้นมีแต่ทางบวก … เริ่มต้นจากที่กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหนังสือที่เป็นเครื่องมือของคุณครูแนะแนวจะทําให้นักเรียนสามารถที่จะค้นพบตัวเองได้และ สามารถที่จะกําหนดอนาคตของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมาคือกลุ่มคุณครูที่สามารถช่วยส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาตนเองได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของตนเอง ทำให้โรงเรียนมีคุณภาพสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ …ผลพวงที่ตามมาคือบรรดาผู้มีประสบการณืที่จบออกไปจะเข้ามามีส่วนช่วยในการให้คําแนะนําและสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆในรุ่นต่อไป

        สุดท้ายสิ่งที่สำคัญ …ในระดับมหภาค เราจะมีนักเรียนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตรงกับความต้องการของแต่ละภาคส่วน  สิ่งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทําให้ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่าง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  

ที่มา : โครงการนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Innovative Project for Change)  ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ 

อ่านบทความต่อไป …..การขาดทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (MEDIA LITERACY)และการคิดวิจารณญาณ (CRITICAL THINKING) ของเยาวชน......