ผลงานภายใต้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเรียนและการสอน
1. ค่าย LSEd Creative Science (Topic: Science in the Kitchen)
“โครงการค่าย LSEd Creative Science Camp” ในหัวข้อ Science in the Kitchen สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3 วัน 2 คืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีความรู้ด้านการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงตรรกะ และการรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมที่สามารถนำมาเป็นโจทย์เพื่อการเรียนรู้เรื่องวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการรับรสอาหาร โดยสามารถอธิบายผ่านแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ทั้งเคมีและชีววิทยาได้อย่างน่าสนใจ รวมถึงยังสามารถเชื่อมโยงเข้ากับประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ได้อีกด้วย
o อ่านรายละเอียดโครงการ (คลิก)
2. การอบรมการออกแบบบทเรียนคณิตศาสตร์ที่มีความหมาย
โครงการอบรม หัวข้อ " การออกแบบบทเรียนคณิตศาสตร์ที่มีความหมาย" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรด้านการศึกษาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนให้ห้องเรียน และเรียนรู้การออกแบบบทเรียนคณิตศาสตร์ตามบริบทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับผู้เรียน โดยสามารถนำกิจกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด วางแผน แก้ปัญหา และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจบทเรียนได้มากยิ่งขึ้น
o อ่านรายละเอียดโครงการ (คลิก)
3. การอบรมนพลักษณ์ขั้นพื้นฐาน: เพื่อเข้าใจตนเอง สู่การโอบรับผู้อื่น
โครงการอบรม “นพลักษณ์ขั้นพื้นฐาน: เข้าใจตนเอง สู่การโอบรับผู้อื่น” จำนวน 2 วัน จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในศาสตร์นพลักษณ์ (Enneagram) เป็นศาสตร์ที่ใช้ในการทำความเข้าใจตนเองและผู้อื่น โดยเสริมสร้างความตระหนักรู้ เท่าทันแบบแผนพฤติกรรมของลักษณ์ รวมทั้งพัฒนาแนวทางสู่การเติบโต และสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกิดความเห็นอกเห็นใจ เคารพในความแตกต่างหลายหลายและสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจ
o อ่านรายละเอียดโครงการ (คลิก)
4. การอบรมครูสอนภาษาต่างประเทศ (Innovative Language Teaching in the Modern Classroom)
โครงการอบรมครูสอนภาษาต่างประเทศ ภายใต้ธีม “Innovative Language Teaching in the Modern Classroom” จำนวน 3 วัน เพื่อให้ครูผู้สอนภาษาต่างประเทศได้เรียนรู้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ภาษา การออกแบบการจัดการเรียนการสอนภาษา การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และเกมิฟิเคชันเป็นฐานเข้ามาให้กระบวนการสอนภาษา รวมถึงแนวคิดทฤษฎีการประเมินผลการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาการเรียนรู้ด้านภาษาอย่างยั่งยืน
o อ่านรายละเอียดโครงการ (คลิก)
5. การอบรมการวิเคราะห์สถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม Jamovi
การอบรม 1 วัน ในการจัดทำชุดข้อมูล (Dataset) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรม Jamovi การวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือวัดด้วยโปรแกรม Jamovi และการวิเคราะห์สถิติ ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพื้นฐาน และการเขียนรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล
o อ่านรายละเอียดโครงการ (คลิก)
6. การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้”
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้” จำนวน 1 วัน จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ กระบวนการพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ สามารถเข้าใจความหมาย ประเภท และหลักการการออกแบบสื่อดิจิทัล ในการเลือกใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ในบริบทสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
o อ่านรายละเอียดโครงการ (คลิก)
7. การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การดูแลพลังงานในห้องเรียนและสร้างความมั่นคงภายในให้ครูผู้สอน”
โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การดูแลพลังงานในห้องเรียนและสร้างความมั่นคงภายในให้ครูผู้สอน” จำนวน 1 วัน พลังงานของห้องเรียนนั้นเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เสริมสร้างความรู้สึกปลอดภัย ผ่อนคลาย และสนใจที่จะร่วมเรียนรู้ในเนื้อหาและกระบวนการของครูผู้สอน การดูแลพลังงานเป็นเทคนิคและทักษะที่จะช่วยให้ครูผู้สอนเนรมิตพื้นที่เรียนรู้ที่เปี่ยมพลัง โอบอุ้ม และปลอดภัย ทั้งนี้หัวใจสำคัญของเทคนิคและทักษะนี้มิได้อยู่ภายนอกหรืออยู่ที่ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์เท่านั้น หากเป็นความมั่นคงภายในหรือพลังงานในตัวของครูผู้สอนนั่นเอง
o อ่านรายละเอียดโครงการ (คลิก)
ห้องโครงการวิจัย (212) เลขที่ 99 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หมู่ 18 อาคารสิริวิทยลักษณ์ ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121